โปรตีนคุณภาพดี ที่ได้จากปลา และมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีสรรพคุณช่วยป้องกันโรคหัวใจหลอดเลือดตีบ และโรคเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดอื่นๆ นอกจากนี้การกินปลาทั้งก้าง ช่วยให้เราได้แคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงกระดูก และฟันให้แข็งแรง ปัญหาเรื่องก้างจะไม่เป็นอุปสรรคในการการทานอีกต่อไป และยังช่วยเพิ่มอรรถรสในการกินให้อร่อยลิ้นมากขึ้น ด้วยเมนู “ปลาทูต้มเค็ม” สูตรโบราณ ที่คุณสามารถทานได้ตลอดทั้งตัว รดชาติปลาทูต้มเค็มจะออกหวานนำ เค็มนิดๆ นะคะ มาลงมือทำกันค่ะ
วัตถุดิบ :
● ปลาทูสด จำนวนแล้วแต่สะดวก
● มันหมูไม่มีใช้หมูสามชั้นติดมันเยอะ
● น้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลตะโหนด
● มะขามเปียก
● เกลือ
● อ้อย 2 ท่อน
เครื่องปรุง :
● ต้นหอมซอย
● มะเขือเทศ
● หอมแดงซอย
● พริกชี้ฟ้าซอย
● ขิงอ่อนซอย
● น้ำอ้อย
● น้ำส้มซ่า
วิธีทำ
1. เตรียมภาชนะใส่มะขามเปียก เกลือและน้ำตาล น้ำนิดหน่อย ขยำให้เข้ากัน ชิมให้ได้รสหวาน เค็ม เปรี้ยว แล้วกรองเอากากออก
2. ล้างอ้อยแล้วผ่าเป็นซีก วางก้นหม้อเพื่อไม่ให้ปลาทูติดก้นหม้อ
3. ปลาทูสดตัดหัวออกแล้วควักไส้ ล้างให้สะอาด วางเรียงในหม้อกลับหัวหางให้เท่ากัน ขณะต้มจะไม่คน หรือขยับตัวปลา
4. ใส่น้ำมะขามลงไป เติมน้ำให้ท่วมปลา หั่นมันหมูหรือหมูสามชั้นใส่ลงไป 2 กำมือ ปลามากใส่ 3-4 กำมือ
5. ใช้ไฟแรงต้มจนเดือด ประมาณ 10 นาที ค่อยลดระดับไฟลงให้เบาที่สุดต้มไปทั้งวัน น้ำแห้งเติมน้ำไปเรื่อยๆให้ท่วมตัวปลา
6. เนื้อปลาจะเเข็งลองแกะตัวปลาแล้วบี้ก้างดู สังเกตก้างปลาจะยุ่ยเป็นแป้ง ถ้าไม่ชอบเนื้อแข็งต้มประมาณ 1 ชม.
7. ตักใส่ชามตกแต่งด้วยต้นหอม หอมแดงซอย พริกชี้ฟ้าซอย และขิงอ่อนซอย บีบส้มซ่าลงไปนิดหน่อย ก็พร้อมเสิร์ฟขึ้นโต๊ะคู่ข้าวหอมมะลิร้อนๆค่ะ
เคล็ดลับ
➣ การเลือกปลาทูสด เนื้อปลาต้องมีความแข็งดวงตาใสไม่ขุ่น
➣ น้ำมะขามเปรี้ยวๆ จะรัดให้เนื้อปลาแข็ง
➣ การเคี่ยวต้องใช้ไฟอ่อน น้ำให้ท่วมตัวปลาเล็กน้อย
➣ อ้อยทำให้กระดูกปลาเปื่อยและทำให้เนื้อปลาคงรูป
➣ สูตรโบราณ อยู่ตรงการเคี่ยวน้ำตาลจนไหม้เป็นสีดำ ไม่ได้ใช้ซีอิ๊วดำ
➽ ปกติคนโบราณจะต้มนานข้ามวันรสชาติจึงออกมากลมกล่อมค่ะ
อย่าลืมกดไลค์แฟนเพจกันด้วยนะคะ www.facebook.com/ข้าวหงษ์ทอง ใส่ใจสร้างสรรค์ข้าวคุณภาพ
[xyz-ihs snippet=”Rice”]