โรคเรื้อรังที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ที่ข้อจะเกิดความเสื่อมและการสึกหรอไปตามกาลเวลา ส่วนของข้อที่พบความเสื่อมได้คือ ข้อเข่า ข้อสะโพก การนำสมุนไพรมาใช้บำบัดอาการของโรค ได้แก่

1.เพชรสังฆาต เถาเลื้อย เปลือกเถาเรียบเป็นข้อต่อๆ กัน มีลักษณะเหมือนข้อต่อกระดูก หมอยาพื้นบ้านใช้สมุนไพรชนิดนี้ในการรักษากระดูกหัก จึงมีชื่อเรียกบ่งบอกสรรพคุณอยู่หลายชื่อ คือ ร้อยข้อ ขันข้อ ต่อกระดูก เป็นต้น

2.เถาวัลย์เปรียง สมุนไพรที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอดีต หน้าฝนออกดอกสีขาวเป็นช่อบานสวยงาม ยอดอ่อนรับประทานได้ เถาของเถาวัลย์เปรียงเป็นส่วนประกอบในตำรับยาแก้กษัย แก้เหน็บชา ถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายกษัต แก้เส้นเอ็นขอด แก้เมื่อยขบ ทำให้เส้นหย่อนแก้ปวด

3.งา พืชน้ำมันบำรุงชั้นยอด งาอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส รับประทานคู่กับถั่วธัญพืชต่างๆ จะยิ่งได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อความแข็งแรงของกระดูก น้ำมันจากงาดำจะเอามาใช้รักษากระดูกหัก แถมยังเป็นยาแก้ปวดบวมชั้นยอด ใช้ระงับอาการปวดบวม เคล็ด ขัด ยอก ปวดตามเส้น หรือกล้ามเนื้ออ่อนล้า จะนำไปเคี่ยวกับสมุนไพรตัวอื่นๆ ด้วยก็ได้ เพราะน้ำมันงาจะทำหน้าที่ในการดึงตัวยาออกมา ช่วยเสริมประสิทธิภาพของตัวยาซึ่งกันและกัน

4.หญ้าขัดมอญ สรรพคุณในการแก้ขัดต่างๆ เช่น อาการปวด ขัดตามข้อ ปัสสาวะขัด เป็นต้น หญ้าขัดถูกนำมาใช้เป็นทั้งยากิน ยาอาบ ยาพอก ฯลฯ ใช้ในการรักษาอาการปวดข้อ ปวดเมื่อย บำรุงเอ็น รวมถึงกล้ามเนื้อและกระดูก โดยนำรากมาต้มดื่มแก้ปวดข้อ กระตุ้นกำลังชั้นดี ทำให้สดชื่น แก้อ่อนเพลีย

5.เอ็นอ่อน สมุนไพรหนึ่งในยา “สามดูกสี่เอ็น” เพื่อรักษากระดูกและเอ็น ชื่อของสมุนไพรบ่งบอกถึงสรรพคุณที่ใช้ในการรักษากระดูกและเอ็น ให้เอาเถาเอ็นอ่อน แก่นแจง เมล็ดก้ามปู มาต้มแล้วรับประทาน จะช่วยคลายหายปวดเส้นได้ หรืออาจนำเปลือกมาทำเป็นยาประคบ เพื่อแก้เส้นตึง ช่วยให้คลายเส้น และยืดเส้นเอ็น

6.ยอ สมุนไพรใกล้ตัวนำมาใช้ประโยชน์ เช่น ใบยอ ใช้ทำอาหาร หรือทำยาพอกแก้ปวด แก้เคล็ดขัดยอก ผลยอสุกนำมาใช้รับประทานได้ ลูกยอบดใช้ทาผิวหนังฆ่าเชื้อโรค ปัจจุบันมีการนำยอมาใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น โรคเก๊าต์ โรคความดันโลหิตสูง อาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ โรคปวดในข้อ เป็นต้น

 

อย่าลืมกดไลค์แฟนเพจกันด้วยนะคะ www.facebook.com/ข้าวหงษ์ทอง ใส่ใจสร้างสรรค์ข้าวคุณภาพ