น้ำข้าวมี 2 แบบ

1.น้ำข้าวที่เกิดจากการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ ซึ่งจะต้องใช้หม้อใส่ข้าวสารตั้งบนเตาถ่าน กระบวนการเริ่มต้นโดยล้างหรือซาวข้าวเพื่อขจัดฝุ่นผงและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ออก จนกระทั่งน้ำล้างข้าวใส แล้วจึงเติมน้ำปริมาณมากลงไป ต้มให้เดือด ในช่วงนี้ต้องหมั่นคนอย่าให้เมล็ดข้าวติดก้นหม้อ ต้มจนเมล็ดข้าวเริ่มแตกจนสุกนิ่มไปทั้งเมล็ด หรือเห็นเมล็ดข้าวยังมีไตขุ่นเป็นจุดเล็กๆ อยู่ภายใน จึงรินน้ำออก เรียกขั้นตอนนี้ว่า เช็ดน้ำข้าว ทั้งนี้ หม้อที่ใช้หุงข้าวแบบเช็ดน้ำนี้ต้องมีหูสองข้างและฝาหม้อต้องมีหูอยู่ตรง กึ่งกลาง เวลาเช็ดน้ำใช้ไม้ขัดฝาหม้อแทงขัดร้อยหูหม้อและฝาหม้อเอาไว้ จากนั้นเอียงหม้อเทน้ำข้าวออกจนหมด แล้วนําหม้อข้าวไปตั้งไฟอ่อนๆ เพื่อให้น้ำข้าวในหม้อแห้งสนิท เรียกว่า ดงข้าว จนข้าวสุกระอุดี เชื่อกันว่าน้ำข้าวเป็นอาหารอย่างดีสําหรับคนป่วยที่รู้สึกเบื่ออาหารเพราะ เกิดการเสียสมดุลของระบบย่อยอาหาร ส่วนคนปกติที่ไม่ป่วยก็สามารถทานน้ำข้าวได้เช่นกัน เพราะน้ำข้าวมีคุณค่าและสารอาหารมากมายเช่นเดียวกับข้าว อีกทั้งย่อยง่าย ไม่ทําให้ท้องอืด ท้องเสีย และร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารและซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอได้ทันที คนป่วยจึงสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น น้ำข้าวมีวิตามินอีสูง และมีคุณสมบัติเป็นยารสเย็นช่วยบำรุงร่างกาย รวมถึงแก้ร้อนในและใช้ถอนพิษผิดสำแดง และยังใช้แก้อาการปวดท้อง ท้องร่วง และช่วยขับปัสสาวะด้วย

โดยเฉพาะเด็กท้องเสีย น้ำข้าวช่วยได้มากเช่นกัน สูตรน้ำข้าวที่สามารถนำมาเป็นยาสำหรับเด็กท้องเสียมีดังนี้ น้ำข้าว 1 ถ้วย หรือ 8 ออนซ์ (240 ซีซี) เกลือ 2 หยิบนิ้วมือ (0.6 กรัม) น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะหรือช้อนแกง (6 กรัม) ผสมเข้าด้วยกันป้อนให้เด็กรับประทาน

และอีกสูตร คือ ข้าวสาร 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ช้อนตักแกง เติมน้ำลงในหม้อข้าว 3 แก้ว (เต็มแก้ว) ซึ่งมีปริมาตรประมาณ 720 ซีซี นำไปต้มจนเดือดแล้วเคี่ยวต่อ ใช้เวลาทั้งสิ้นตั้งแต่เริ่มหุงประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที เมล็ดข้าวจะแตกและเปื่อย ลักษณะเหมือนโจ๊ก เติมเกลือลงไป 2 หยิบนิ้วมือ แล้วยกลง จะมีปริมาตรที่เหลือทั้งสิ้น 1 ถ้วย ประมาณ 8 ออนซ์ (240 ซีซี) ทิ้งไว้ให้เย็นและป้อนให้เด็กรับประทาน

2.น้ำข้าวที่เกิดจากการซาวข้าว แม้จะไม่ใช้การหุงข้าวแบบอดีตแล้ว แต่ทุกบ้านยังต้องล้างข้าวสารก่อนหุง น้ำซาวครั้งแรกอาจมีฝุ่นสกปรกมาก ให้ใช้น้ำซาวข้าวครั้งที่สอง ซึ่งน้ำข้าวชนิดนี้มีสรรพคุณคือเป็นยารสเย็นเช่นกัน ในยุคที่น้ำข้าวจากการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำหายาก ใช้น้ำซาวข้าวน่าจะสะดวกกว่า เชื่อว่าน้ำซาวข้าวขจัดรังแคได้ โดยนำน้ำซาวข้าวใส่กะละมัง ทิ้งให้ตกตะกอน จากนั้นรินน้ำออก ใช้น้ำที่ตกตะกอนสระผม 2 ครั้ง แล้วสระผมด้วยแชมพูอีกครั้ง ล้างน้ำให้สะอาด ว่ากันว่าผมจะนิ่มปราศจากรังแค วงการเครื่องสำอางยุคกลับสู่ธรรมชาตินำเอาน้ำซาวข้าวผสมกับมะกรูด หรือฝักส้มป่อย เป็นแชมพูสระผมแก้รังแค บำรุงหนังศีรษะ และช่วยรักษาเส้นผมด้วย

น้ำซาวข้าว เป็นน้ำที่ได้จากการล้างข้าวก่อนนำไปหุง ปกติจะล้างข้าวไม่เกิน 1-2 ครั้ง เพราะจะทำให้สูญเสียวิตามินที่มีอยู่ในเมล็ดข้าวอย่างเช่น วิตามินบี ซึ่งละลายได้ในน้ำน้ำซาวข้าวที่ดูเหมือนไม่มีประโยชน์ แต่ทราบหรือไม่ว่าน้ำซาวข้าวมีคุณประโยชน์ย่างอเนกอนันต์มากกว่าที่คิด เพราะน้ำซาวข้าว จะมีจำพวกวิตามินบี 3 หรือ Niacin ช่วยทำลายพิษหรือท็อกซินจากมลพิษ แอลกอฮอล์ และยาเสพติด วิตามินบี 2 หรือ Riboflavin ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด อันเป็นสาเหตุให้เส้นเลือดแข็งตัว ขจัด ไขมันชนิดอิ่มตัวในเส้นเลือด นอกจากนี้ยังช่วยระงับอาการตาแฉะได้ จึงใช้เป็นส่วน ประกอบในยาหยอดตา วิตามินบี 1 หรือ เป็นต่อประโยชน์การทำงานของสมอง ระบบประสาท ระบบย่อย หัวใจ และกล้ามเนื้อ ช่วยให้เจริญอาหารและช่วยในการ เจริญเติบโตของร่างกาย และมี ธาตุเหล็ก เป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ในสมัยก่อนคนไทยนำ “น้ำซาวข้าว” ต้มใส่เกลือหรือน้ำตาลทรายดื่มเพื่อบำรุงสุขภาพ นอกจากคุณประโยชน์ต่อภายในของร่างกายแล้ว น้ำซาวข้าวยังสามารถนำมาสระผม ซึ่งจะช่วยบำรุงเส้นผมให้นุ่มลื่น ไม่เป็นรังแค นำมาชำระล้างใบหน้าก็จะช่วยขจัดความมัน รักษาสิวฝ้าทำให้หน้าขาวนวลนุ่ม ใช้ล้างผัก ผลไม้ ก็จะขจัดสารพิษตกค้างได้ใช้ล้างภาชนะที่ติดคราบไขมันได้อย่างสะอาด ใช้รดต้นไม้เป็นปุ๋ยอย่างดี ใช้ล้างเมือกคาวปลาไร้กลิ่นได้ชะงัก

ประโยชน์ต่างๆ ของน้ำซาวข้าว

1. วิธีทำน้ำซาวข้าว
วิธีทำน้ำซาวข้าวอย่างง่ายที่สุดคือ การหุงข้าวด้วยวิธีเช็ดน้ำแบบโบราณ โดยใช้หม้อหุงข้าวแบบสมัยก่อน (ในรูปภาพตัวอย่าง ไม่ใช้หม้อหุงข้าวอัตโนมัตสมัยใหม่) คือต้มข้าวเดือดแล้ว รินน้ำข้าวออก แล้วราไฟเพื่อดงข้าวให้สุก นำน้ำที่รินออกมาผสม เกลือเล็กน้อย แล้วดื่มจะได้รสชาติที่นุ่มนวล และที่สำคัญมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากจริงๆ

2. น้ำซาวข้าวสามารถใช้ล้างผัก ผลไม้ ขจัดสารพิษตกค้างได้
สามารถใช้ล้างผัก ผลไม้ ขจัดสารพิษตกค้างได้ และยังใช้ล้างถ้วย ชาม ช้อน ส้อม ที่ติดคราบไขมันได้สะอาดดี นอกจากนี้ ยังใช้รดต้นมะลิ ออกดอกบานสะพรั่ง ใช้ล้างเมือกคาวปลาไร้กลิ่นเหม็นคาวปลาได้ชะงัก และสาวๆที่ผิวหน้ามัน กรองน้ำซาว ข้าวทิ้งไว้ให้ตกตะกอน ใช้ล้างหน้าขจัดความมัน และยังทำให้มือนุ่มอีกด้วย ดูจากสาวญี่ปุ่นสมัยก่อนที่ใช้มือแช่น้ำซาวข้าว ทำให้นุ่มนวล และตอนไหนที่เผลอกินพริกเผ็ดๆเข้าไปล่ะก็ อมน้ำซาวข้าวขะยุกๆกลั้วๆ สักพักแล้วบ้วนทิ้งหายเผ็ดเป็นปลิดทิ้ง ประโยชน์ของน้ำซาวข้าวมากมายจริงๆ อ่านแล้ว ต่อไปก็อย่าเผลอทิ้งล่ะ

3. น้ำซาวข้าวช่วยรักษาสิวบนใบหน้า
มีสรรพคุณ รักษาสิวฝ้าบนใบหน้า ทำให้หน้าขาวนวล นุ่มนิ่ม
วิธีใช้ : นำน้ำซาวข้าวที่สะอาดมาชำระล้างใบหน้า ทุกเช้าและเย็น หรือทุกครั้งเมื่อมีโอกาส จะทำให้ใบหน้าขาวนวล ลดการ เกิดสิวได้

4. น้ำซาวข้าวทำให้มือนุ่มได้
ถ้าสาวใดเข้าครัวทำอาหารอยู่เป็นประจำ เวลาซาวข้าว มือก็จะกระทบกับข้าวและน้ำที่ใช้ซาว รู้ไหมว่าน้ำซาวข้าวจะทำให้มือ ของคุณนุ่มขึ้น เหมือนในประเทศญี่ปุ่น ในสมัยก่อนบรรดาสาวๆ จะร่วมกันทำข้าว ปั้นข้าว เมื่ออายุมากขึ้นแต่มือทั้งสองยัง ขาวนวล เต่งตึงเหมือนสาวๆไม่มีผิด ฉะนั้นเวลาซาวข้าว ก็ใช้ทั้ง 2 มือ จะได้นุ่มทั้ง 2 มือ

5. น้ำซาวข้าวแก้อาการคันศีรษะและผมมัน
มีสูตรการทำดังนี้
ส่วนผสม มะกรูด 1 ลูก
น้ำซาวข้าว พอประมาณ

วิธีทำ
1. นำผิวมะกรูดมาตำให้ละเอียด แล้วบีบน้ำมะกรูดลงไป
2. เติมน้ำซาวข้าวอุ่นๆ พอประมาณ คนให้เข้ากันทิ้งไว้ประมาณ 5 – 10 นาที
3. กรองเอาแต่น้ำไปสระผม ระวังอย่าให้เข้าตา ใช้สระผมได้เป็นประจำเท่าที่ต้องการ จะรู้สึกเบาสบายศีรษะ และช่วยบำรุง หนังศีรษะ แก้อาการคันได้ชะงัดได้

4. น้ำซาวข้าวล้างผักลดสารพิษอย่างไร
ทุกวันนี้ผักผลไม้ที่วางขายกันอยู่ตามท้องตลาดส่วนมากนั้น ใช้สารเคมีในกระบวนการปลูกเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโต สารพิษเหล่านี้จึงตกค้างอยู่ในผักผลไม้ที่เราซื้อมารับประทาน มีวิธีง่ายๆอีกวิธีหนึ่งใน
การล้างผักและผลไม้เพื่อช่วยลดสารพิษตกค้างด้วยการใช้น้ำซาวข้าว
น้ำซาวข้าวนอกจากจะให้ประโยชน์ดังที่กล่าวมาหลายหัวข้อแล้ว และทราบหรือไม่ว่ายังสามารถนำมาล้างผักและผลไม้
ให้ปราศจากสารพิษได้ชะงัดนัก โดยน้ำซาวข้าวที่ใช้เป็นน้ำซาวข้าวที่ซาวครั้งที่สอง
ส่วนวิธีการ เริ่มจากขั้นแรก ให้เด็ดใบผักลงแช่ในน้ำซาวข้าวประมาณ 5-15 นาที หลังจากที่แช่เพื่อให้ สารพิษที่ตกค้างอยู่
เจือจางลง แล้ว ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งเพื่อให้เศษหินเศษทรายต่างๆหลุดออกไป เพียงเท่านี้ก็มั่นใจได้แล้วว่า ผักและ
ผลไม้ที่จะนำมารับประทานปราศจากสารพิษตกค้าง…..ประโยชน์ของน้ำซาวข้าวมีมาก มายจริงๆ

5. ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของข้าว
ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นและหาวิธีใช้ประโยชน์จากข้าวในรูปแบบหลากหลายเพิ่ม ขึ้น เช่น การนำข้าวมาผลิตเป็นไวน์ น้ำส้ม สายชู หรือแม้แต่เครื่องสำอาง จำพวกครีมนวดผม/สบู่ป้องกันผิวแตก/ผงขัดผิว นอกจากนั้นคนไทยสมัยอดีตยังนำเมล็ดข้าว และส่วนต่างๆ ที่ได้จากต้นข้าวมาใช้เป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บสารพัดชนิดอีกด้วย อาทิ

ข้าวสาร : รักษาอาการท้องอืด ลมพิษ พยาธิลำไส้

ข้าวสุก : รักษาอาการท้องอืด ลมพิษ พยาธิลำไส้

ข้าวเหนียว : รักษาอาการเหงื่อออกมากผิดปกติ อาการท้องร่วงท้องบิด แก้ผื่นบนหัวเด็ก อาการปวดเอว

รากข้าวเหนียว : นำไปต้มน้ำกินช่วย กระตุ้นน้ำลาย และละลายเสมหะ บำรุงกระเพาะอาหาร แก้เหงื่อออกมาก

ต้นอ่อนข้าวเหนียว : นำไปต้มน้ำกิน ช่วยให้ย่อยอาหาร หล่อลื่นลำไส้ และช่วยขับเสมหะ

น้ำข้าว : ใช้ดื่มบรรเทาอาการร้อนและ กระหายน้ำ แก้อาเจียนเป็นเลือด ตาแดง เลือด กำเดาออกง่าย และช่วยขับเสมหะ

ข้าวกล้อง : ใช้พอกฝีเพื่อเร่งหนองให้แตกเร็ว รักษาโรคไขข้อ แก้เหน็บชา

รำข้าว : ใช้บำบัดโรคเหน็บชา แก้อาการสะอึก ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ช่วยย่อยและทำให้ เจริญอาหารใช้เป็นยาระบาย

ฟางข้าว : ช่วยขับลม รักษาอาการท้องอืด ปวดท้อง ท้องร่วง กระหายน้ำ ริดสีดวงทวาร ดีซ่าน และแผลที่เกิดจากไฟ หรือ น้ำร้อน

น้ำซาวข้าว : บรรเทาอาการร้อนกระวนกระวาย กระหายน้ำ รักษาโรคอหิวาตกโรค ช่วย ย่อยอาหารและแก้พิษ

ข้าวงอก : ใช้เป็นยาช่วยย่อยอาหาร

แป้งข้าวเจ้า : บรรเทาอาการอักเสบใน ไฟลามทุ่ง รักษาโรคผิวหนังที่โดนลวก และ อาการผื่นคันเล็ก ๆ น้อย ๆ

 

อ้างอิง: ขอบคุณบทความจาก นิตยสารบันทึกคุณแม่