Contact Us Contact Us

“ทฤษฎีแกล้งดิน” เปลี่ยนดินให้เป็นทอง

ดินเปรี้ยวแก้ไขได้ดั่งใจ ด้วยแนวคิด “หลอกให้ดินหลงธรรมชาติ”

ทฤษฎีแกล้งดิน
แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงการแกล้งดิน

โครงการแกล้งดิน

         หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องของโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดําริกันมาบ้างแล้ว ชื่อของโครงการแต่ละโครงการล้วนสะดุดหูชวนให้สนใจติดตาม ว่าเป็นโครงการอะไร ซึ่งแต่ละชื่อของโครงการล้วนเป็นเหตุเป็นผลทั้งสิ้น บางชื่อก็มีความหมายตรงตามชื่อ โดยมิต้องอ้อมค้อมตีความ เช่น โครงการแก้มลิง คือการนําน้ำในขนะที่มีมากๆ มาพักไว้ที่บ่อเก็บและค่อยๆ ระบายออกไป     โดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก เช่นเดียวกับลิง เมื่อได้รับอาหารมาก ก็จะรีบกินทั้งหมดแล้วเอาไปเก็บไว้ที่กระพุ้งแก้ม   จากนั้นค่อยๆ นําออกมาเคี้ยวบริโภคภายหลัง

“โครงการแกล้งดิน” ก็มีความหมาย หรือภารกิจที่ทําตรงตามชื่อโครงการ คือ ทรงใช้วิธีแก้ไขดินที่เปรี้ยวจัดให้ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้โดยวิธี “แกล้งดิน”

         อันเนื่องมาจากเมื่อปี พ.ศ. 2524 สมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุยเดช ไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส และทรงพบว่า ราษฎรมีความเดือดร้อนหลายเรื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มของ เกษตร มีการขาดแคลนที่ทํากิน หรือปัญหาในพื้นที่พรุซึ่งมีน้ำขังอยู่ตลอดปี ถึงแม้สามารถทําให้น้ำแห้งได้ ดินในพื้นที่เหล่านั้นก็ยังเป็นดินเปรี้ยวจัด ทําการเกษตรได้ผลน้อยไม่คุ้มทุน เพื่อจะได้มีพื้นที่ใช้ทําการเกษตร และเป็นการบรรเทาอุทกภัยนั้น ทำให้ดินในพื้นที่พรุแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทําให้เพาะปลูกไม่ได้ผล

พระองค์ทรงตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จะเห็นได้จากความตอนหนึ่งในพระราชดํารัส

โครงการแกล้งดิน-02

จึงมีพระราชดําริ…ให้ส่วนราชการต่างๆ พิจารณาหาแนวทาง ในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิดประโยชน์      

ในทางการเกษตรให้มากที่สุด และให้คํานึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วย พระองค์จึงมีพระราชประสงค์จะแก้ไขปัญหานี้ให้กับราษฎร จึงกําเนิด “โครงการแกล้งดิน” ขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2527 โดยมีศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เป็นหน่วยดําเนินการสนองพระราชดําริ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็น กรดของดินกํามะถัน พระองค์ทรงมีพระราชดํารัสว่า

โครงการแกล้งดิน-03

ทำอย่างไรถึงเรียกว่า “แกล้งดิน”

         ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองจึงได้ดําเนินการสนองพระราชดําริโครงการ “แกล้งดิน” โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ “แกล้งดินให้เปรี้ยว”  ด้วยการทําให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทําปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกํามะถันออกมา ทําให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น

“แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด” กระทั่งพืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าว ให้สามารถปลูกพืชได้

จากการทดลองปรับปรุงดินทำให้พบว่า…….

วิธีการปรับปรุงดิน ตามสภาพของดิน และความเหมาะสม มีอยู่ 3 วิธีการด้วยกัน คือ

1. ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เพราะเมื่อดินหายเปรี้ยว จะมีค่า pH เพิ่มขึ้น หากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟต ก็จะทำให้พืชให้ผลผลิตได้

2. ใช้ปูนมาร์ลผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน

3. ใช้ทั้งสองวิธีข้างต้นผสมกัน

ตัวอย่าง โครงการแกล้งดิน
ภาพแสดงขั้นตอนการเกิดดินเปรี้ยวในบริเวณป่าพรุและที่ราบต่ำขอบพรุ ในท้องที่จังหวัดนราธิวาส
พรุ-01
พรุที่มีน้ำขังอยุ่ตามธรรมชาติ

พรุ-02

เมื่อน้ำถูกระบายออก ดินจะถูกแช่ขังด้วยน้ำส่วนล่าง ส่วนดินแห้งตอนบนจะเป็นกรด

พรุ-03

เมื่อน้ำระเหยออกไปมากขึ้น ความหนาของดินที่เป็นกรดจัดจะเพิ่มมากขึ้น และชั้นอินทรียวุตถุตอนบนจะบางลง

ด้วยพระเมตตาของพระองค์รัชกาลที่ 9  ตลอดระยะเวลา 70 ปี ของการทรงงาน พระองค์ทรงสร้างรากฐาน และพัฒนาพื้นที่ในประเทศไทยมากมาย เพื่อราษฎรจะได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จนเกิดเป็นความเจริญ บัดนี้…พื้นที่ที่ดินเปรี้ยวจัด มิใช่พื้นที่ไร้ประโยชน์อีกแล้ว

แต่สามารถนํามาทําการเกษตรได้ ทั้งปลูกข้าว ข้าวโพด ถั่วต่างๆ อ้อย งา มันเทศ พืชผัก ไม้ผล และไม้ยืนต้น พืชอาหารสัตว์ และขุดบ่อเลี้ยงปลา ได้ผลดีจนนําไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นของราษฏรในแถบนั้น ซึ่งต่างพากันสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมิรู้ลืม