อาการปวดตามกระดูกหรือข้อต่อต่างๆนั้น เรียกว่าโรค รูมาทอยด์ ซึ่งเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัยค่ะ โดยส่วนมากมักพบในเพศหญิงวัยกลางคน (มีโอกาสมากกว่าเพศชายถึง 5 เท่า) ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าโรคชนิดนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อ และพันธุกรรม แต่ก็ยังหาสาเหตุจริงๆไม่ได้ โดยจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดตามข้อ ฝืดขัดข้อต่อเป็นเวลานาในตอนเช้า ซึ่งเมื่อเป็นมากๆขึ้นอาจลุกลามไปถึงนัย์ตา ระบบประสาท และกล้ามเนื้อได้
โรค รูมาทอยด์ หรือ รูมาตอยด์ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันรุกรานเนื้อเยื่อในร่างกายหลายแห่งโดยเฉพาะส่วนข้อ ทำให้เกิดการอักเสบและทำให้ข้อเสื่อม ในปัจจุบันมีวิธีการรักษามากมาย ทั้งการให้ยาแก้อักสับชนิดปลอดสารสเตียรอยด์ หรือทำการผ่าตัด ฉีดยา หรือกายภาพบำบัดควบคู่กัน แต่ก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า อาหารบางชนิดสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคนี้ได้
จะรับประทานอาหารอะไรได้บ้าง ที่จะช่วยลดความเสี่ยง หรือบรรเทาอาการอักเสบได้เมื่อรับประทานเป็นประจำ
- โอเมก้า 3 ส่วนมากพบในอาหารทะล มีสาร EPA และ DHA ซึ่งช่วยลดการอักเสบของไขข้อได้ อาหารที่แนะนำ ได้แก่ ปลาทะเล เช่นแซลมอน ทูน่า วอลนัท เต้าหู้หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง จมูกข้าวกล้อง เป็นต้น
- ผลไม้ตระกูลส้ม ตระกูลเบอร์รี่ เพราะผลไม้เหล่านี้จะมีสาร ฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัน ต่อต้านการอักเสบ และลดการเกิดโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของร่างกาย เช่นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขข้อเป็นต้น นอกจากนี้ยังพบใน ชาเขียวและแอ๊ปเปิ้ลอีกด้วยค่ะ
- ผักใบเขียว เช่นคะน้า หรือผักโขม เป็นต้น เพราะในผักใบเขียวจะอุดมไปด้วย กรดโฟลิก หรือวิตามินบี 9 สูง ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
- วิตามินซี แน่นอนค่ะว่าวิตามินชนิดนี้มีประโยชน์ต่อเนื้อเยื่อต่างๆโดยตรง นอกจากนี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้อีกด้วย
- ซิลิเนียม ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ เพราจะช่วยป้องกันการทำลายเนื้อเยื่อที่แข็งแรงของสารอนุมูลอิสระ และช่วยเสริมการทำงานของเอนไซม์บางชนิดที่ช่วยต่อต้านการอักเสบได้อีกด้วยค่ะ
- วิตามินดี และแคลเซียม มีส่วนสำคัญในการพัฒนากระดูกให้แข็งแรง ช่วยลดการเสื่อมของข้อกระดูได้อย่างเห็นผล พบมากใน ผักใบเขียวจัด เช่นบร็อคโคลี น้ำมันตับปลา เนย นม ไข่แดง เป็นต้น
และแน่นอนค่ะว่ามีอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงด้วยเช่นกันค่ะ โดยมูลนิธิโรคไขข้ออักเสบได้เปิดเผยว่า แม้ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่าอาหารจะรักษาโรคไขข้อให้หายขาดได้ แต่ก็มีอาหารบางชนิดที่ทำให้อาการของโรคแย่ลงได้เช่นกัน โดยได้สำรวจจากกลุ่มผู้ป่วยตัวอย่าง ให้ลดอาหารบางจำพวก ซึ่งทำให้อาการของผู้ป่วยบรรเทาขึ้น ได้แก่
- เนื้อแดง เพราะในเนื้อแดงจะมีไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นและเพิ่มอาการอักเสบได้
- น้ำตาลและแป้งขัดขาว เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หลังจากนั้นก็จะทำให้เกิดการผกผันของระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ เพราะ จะทำให้ร่างกายสร้างสารเคมีไซโตไคน์ (Cytokines) อันเป็นสารเคมีที่ไปกระตุ้นการอักเสบ และทำให้อาการของโรครูมาตอยด์รุนแรงขึ้น ที่สำคัญ น้ำตาลและแป้งขัดขาวนั้นยังทำให้อ้วนขึ้น และทำให้ข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายตึงเครียดมากขึ้น จึงควรเปลี่ยนเป็น ข้าวกล้องแทนค่ะ
- อาหารทอด การศึกษาในปี 2009 แสดงให้เห็นว่าอาหารทอดทำให้เกิดภาวะน้ำตาลสะสม (Advanced Glycation End Products) ซึ่งจะทำให้เพิ่มการออกซิเดชั่นของเซลล์ภายในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการอักเสบมากขึ้น นอกจากนี้อาหารทอดก็ยังทำให้อ้วนอีกด้วยค่ะ
- โปรตีนกลูเตน หรือโปรตีนจากธัญพืช เช่นข้าวบาเลย์ ข้าวสาลี เพราะในบ้างคนที่มีอาหารแพ้ จะยิ่งทำให้อาการอักเสบของโรค ลุกลามและกำเริบได้ด้วยค่ะ
- อาหารตระกูลมะเขือเทศ เพราะสามารถทำให้อาการของผู้ป่วยในบางกลุ่มกำเริบได้ค่ะ
[leap_gap height=”20px” ]
เมื่อมีการวินิจฉัยพบว่าเป็นโรครูมาตอยด์แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายเกิดแรงดันจำนวนมาก ควรเลี่ยงอิริยาบทที่อาจทำให้ข้อถูกทำลายเร็วขึ้น และนอกเหนือจากการดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์แล้วก็ควรที่จะดูแลสุขภาพตัวเองด้วยค่ะ ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคุมน้ำหนักให้คงที่ ออกกำลังกายเบาๆ โดยเฉพาะโยคะ และงดยาแก้ปวดโดยเด็ดขาดค่ะ อย่าลืมติดตามเคล็ดลับสุขภาพดีๆแบบนี้ได้ที่นีทุกวันกับ “ข้าวหงษ์ทองไลฟ์ ข้าวอร่อยเพื่อสุขภาพ”
[leap_gap height=”20px” ]
อย่าลืมกดไลค์แฟนเพจกันด้วยนะคะ www.facebook.com/ข้าวหงษ์ทองไลฟ์ ข้าวอร่อยเพื่อสุขภาพ
เว็บไซต์หลักของเรา ข้าวหงษ์ทองไลฟ์ ข้าวอร่อยเพื่อสุขภาพ
[leap_gap height=”20px” ]