“น้ำขิง” เครื่องดื่มอายุวัฒนะในตำนาน
ขงจื๊อ ปราชญ์จีนสมัยชุนชิว (ค.ศ.๔๗๙-ค.ศ.๕๐๐) ได้กล่าวไว้ “อาหารทุกมื้อไม่ควรละเลยขิง” ดีอย่างไรต้องอ่านค่ะ
ขงจื๊อ ปราชญ์จีนสมัยชุนชิว (ค.ศ.๔๗๙-ค.ศ.๕๐๐) ได้กล่าวไว้ “อาหารทุกมื้อไม่ควรละเลยขิง” เชื่อว่าในบรรดาพืชผักต่างๆ ขิงมีคุณค่ามากที่สุด ดังนั้น “ขิง” จึงจัดเป็นยาอายุวัฒนะ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่และชะลอการเกิดริ้วรอย ป้องกันและต่อต้านการเกิดมะเร็ง ต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ช่วยลดผลข้างเคียงจากสารเคมีที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ฯลฯ รู้ประโยชน์กันแล้ว ดังนั้นลองมาดูวิธีทำ “ น้ำขิง” แบบง่ายๆ กันเลยค่ะ
วิธีเลือก “ขิง”
ขิงแก่ สีเปลือกและเนื้อจะค่อนข้างเข้ม และค่อนข้างแห้ง ผิวเลื่อม
วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
[leap_ul]
[leap_li icon=”hand-o-right” iconcolor=”#000000″] ขิงสด 15 กรัม (ขนาด 1″x1.5″ 5 ชิ้น ) [/leap_li]
[leap_li icon=”hand-o-right” iconcolor=”#000000″] น้ำเชื่อม 15 กรัม ( 1 ช้อนคาว ) [/leap_li]
[leap_li icon=”hand-o-right” iconcolor=”#000000″] น้ำเปล่า 240 กรัม ( 16 ช้อนคาว )] [/leap_li]
[/leap_ul]
วิธีทำ น้ำขิง
นำขิงมาปอกเปลือกล้างให้สะอาด หั่นเป็นแว่นใส่หม้อที่เตรียมน้ำไว้ ตั้งไฟต้มจนเดือดสักครู่ ยกลง กรองเอาขิงออก ใส่น้ำเชื่อม ชิมรสตามชอบ
เคล็ดลับการปรุง :
ใส่ขิงในน้ำที่กำลังเดือด อย่าใส่ลงไปก่อนที่น้ำจะเดือด เพราะกลิ่นจะเหม็นเขียว หากต้มนานเกินไปจะเผ็ดมาก และมีรสขมเฝื่อน
ประโยชน์และสรรพคุณ
- ขิงสด คุณสมบัติร้อนเล็กน้อย รสเผ็ด สรรพคุณ ขับเหงื่อ อุ่นจงเจียว (กระเพาะอาหาร) แก้อาเจียน
- น้ำขิง คุณสมบัติร้อนเล็กน้อย รสเผ็ด สรรพคุณ แก้อาเจียน แก้ไอ ขับเสมหะ (เสมหะขาวใส)
- ขิงแห้ง คุณสมบัติร้อน อุ่นจงเจียว สลายความเย็น ใช้ในกรณีระบบม้าม-กระเพาะอาหารพร่อง-เย็น
- ขิงหมกไฟ คุณสมบัติร้อน สามารถอุ่นเส้นลมปราณ หยุดเลือด ทะลวงหัวใจ เสริมหยาง
- เปลือกขิง คุณสมบัติร้อนเล็กน้อย ขับปัสสาวะ ลดบวม
- ใบขิง คุณสมบัติร้อนเล็กน้อย ช่วยย่อย ขับน้ำ ทำให้เลือดไหลเวียนคล่อง
*** อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจหลักพื้นฐานข้อหนึ่งที่ว่า มีข้อดี ก็ต้องมีข้อเสีย ควรเลือกรับประทาน ให้เหมาะสมกับภาวะร่างกายของแต่ละท่าน
*** ข้อควรระวังในการทานขิง
- ไม่เหมาะกับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์และการแท้งควรไปปรึกษาแพทย์ก่อนจะที่ใช้ขิงในการรักษาอาการแพ้ท้องด้วยตนเองค่ะ
- ขิงเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน ถ้าหากรับประทานเข้าไปในปริมาณที่มากก็จะสามารถทำลายเยื่อบุภายในช่องปากเกิดการอักเสบจนเป็นอาการร้อนในได้ ดังนั้นไม่ควรรับประทานขิงมากจนเกินไปค่ะ
- ขิงนั้นมีสรรพคุณในการต้านการแข็งตัวของเลือดมากกว่ายาแอสไพริน ดังนั้นถ้าหากคุณมีอาการเลือดออกผิดปกติหรือกำลังใช้ยาละลายลิ่มเลือด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิงค่ะ
[leap_gap height=”10px” ]
อย่าลืมกดไลค์แฟนเพจกันด้วยนะคะ www.facebook.com/ข้าวหงษ์ทองไลฟ์ ข้าวอร่อยเพื่อสุขภาพ
เว็บไซต์หลักของเรา ข้าวหงษ์ทองไลฟ์ ข้าวอร่อยเพื่อสุขภาพ
[leap_gap height=”20px” ]