ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยมีอาการเหล่านี้ วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่นบริเวณหน้าอก หายใจขัด เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก เป็นลมหมดสติ นั่นเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณควรพบแพทย์ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการของ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ค่ะ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นภาวะที่หัวใจเต้นไม่เป็นไปตามจังหวะธรรมชาติ โดยอาจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป ซึ่งเป็นผลมาจากกระแสไฟฟ้าในหัวใจเปลี่ยนไป อาจส่งสัญญาณเร็วเกินไป มากเกินไป หรือในบางครั้งเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีผลให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งเป็นอันตรายได้
- หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ
- หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ
สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ความผิดปกติแต่กำเนิดหรือความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจตีบ
- ความผิดปกติของร่างกายที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ อิเล็กโทรไลต์ในร่างกายผิดปกติ
- ยาและสารบางชนิด เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของแอมเฟตามีน คาเฟอีนที่อยู่ในชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม
- ความเครียดและความวิตกกังวล
อาการของโรค
ในกรณีที่เกิดความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจเต้นเร็วเกินไป เต้นช้าเกินไป มีจังหวะหัวใจที่ขาดหายไปหรือแทรกมาก่อนจังหวะปกติ เหล่านี้ล้วนจัดเป็นหัวใจเต้นผิดปกติทั้งสิ้น โดยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้ บางชนิดอาจไม่เป็นอันตราย แต่บางชนิดหากไม่ได้รับการตรวจอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตก็ได้ เพราะฉะนั้นหากมีอาการผิดปกติ เช่น วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่นบริเวณหน้าอก หายใจขัด เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก เป็นลมหมดสติ ควรรีบมาพบแพทย์ทันที แต่สิ่งที่มักเป็นปัญหาคือ ผู้ป่วยโรคนี้หลายรายมักไม่มีอาการปรากฏ ทำให้ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคนี้ จะทราบก็ต่อเมื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพหรือป่วยด้วยโรคอื่นแล้วมาพบแพทย์
การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- การซักประวัติอย่างละเอียด เช่น การดื่มชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม โรคประจำตัวต่างๆ (เช่น เส้นเลือดหัวใจอุดตัน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือภาวะไทรอยด์)
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ในขณะที่มีอาการ
- การติดเครื่องบันทึกคลื่นหัวใจไว้ที่ตัวผู้ป่วยเป็นเวลา 24 หรือ 48 ชั่วโมง (Holter monitoring test) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการบ่อยแต่ไม่ได้เป็นตลอดเวลา
- การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะที่ผู้ป่วยออกกำลังกาย (exercise stress test; EST)
- การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiogram)
- การตรวจระบบการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ (cardiac electrophysiology study)
การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
แพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ทั้งสาเหตุ อาการ ตำแหน่ง และความรุนแรงของโรค โดยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจไม่ต้องทำการรักษา แต่ในชนิดที่ต้องทำการรักษาก็จะมีทางเลือกในการรักษาหลายวิธี ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น การใช้ยา การใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ การใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้นค่ะ
การป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่สามารถลดโอกาสเกิดให้น้อยลงได้ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การสูบบุหรี่
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ตรวจสุขภาพและพบแพทย์สม่ำเสมอ
[leap_gap height=”10px” ]
แม้ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจจะไม่สามารถป้องกันได้ แต่การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น การดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด และการสูบบุหรี่ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาดูแลสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดโอกาสของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้บ้างค่ะ และอย่าลืมกลับมาติดตามบทความสุขภาพดีๆแบบนี้ได้ที่นี่ทุกวันกับ “ข้าวหงษ์ทองไลฟ์ ข้าวอร่อยเพื่อสุขภาพ”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.bumrungrad.com
[leap_gap height=”20px” ]
อย่าลืมกดไลค์แฟนเพจกันด้วยนะคะ www.facebook.com/ข้าวหงษ์ทองไลฟ์ ข้าวอร่อยเพื่อสุขภาพ
เว็บไซต์หลักของเรา ข้าวหงษ์ทองไลฟ์ ข้าวอร่อยเพื่อสุขภาพ
[leap_gap height=”20px” ]