โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นโรคที่คนไทยรู้จักกันมานาน แต่กลับไม่ ค่อยได้ให้ความสำคัญมากนัก อาจเป็นเพราะไม่ทราบว่าโรคไวรัสตับอักเสบนั้นจัดเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง วันนี้เราจึงมีบทความดีๆ เกี่ยวกับโรค ไวรัสตับอักเสบบี มาฝากกันค่ะ
ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งซึ่งเป็นถิ่นที่ไวรัสตับอักเสบบีระบาดมาก โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจึงนับว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับและทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ จากหลักฐานการศึกษาในปัจจุบันบ่งชี้ว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดมะเร็งตับ ซึ่งเป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในคนไทย
เชื้อไวรัสตับอักเสบมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ชนิดเอ บี ซี ดี อี แต่เหตุผลที่ต้องให้ความสำคัญกับไวรัสตับอักเสบชนิดบีเป็นพิเศษนั้น เพราะว่า ไวรัสตับอักเสบชนิดบีทำให้ผู้ได้รับเชื้อ มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และร้ายแรงจนอาจ กลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด ในบ้านเรา ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 90 มีประวัติเป็นโรคไวรัสตับอักเสบมาก่อนทั้งนั้น
สิ่งที่น่ากลัวของไวรัสตับอักเสบบีคือ เมื่อมีการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ส่วนมากผู้ที่ได้รับเชื้อจะไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่มีอาการป่วยใด ๆ ปรากฏ การดำเนินของโรคจึงเป็นไปอย่างเงียบ ๆ บางราย อาจมีไข้ หรือปวดเมื่อย เนื้อตัวซึ่งทำให้เข้าใจผิด ไปได้ว่าเป็นเพียงไข้หวัด ธรรมดา ไวรัสตับอักเสบ บี เป็นดีเอ็นเอไวรัสชนิด หนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยนิวเคลียส ของตับเพื่อพัฒนาเป็นตัว ไวรัสที่สมบูรณ์ พอพัฒนา ตัวเองได้สมบูรณ์แล้วก็จะ กระจายอยู่ในกระแสเลือด แล้วแพร่เชื้อสู่เซลล์อื่น ๆ ต่อไป
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
- การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
- การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
- การใช้เข็มสักตามตัวหรือสีที่ใช้สักตามตัวร่วมกัน และการเจาะหู
- การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกัน
- การติดเชื้อขณะคลอดจากแม่ที่มีเชื้อ (ถ้าแม่มีเชื้อลูกมีโอกาสได้รับเชื้อ 90%)
- การถูกเข็มตำจากการทำงาน
- การสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล
- เชื้อนี้จะไม่ติดต่อกันทางลมหายใจ อาหารหรือน้ำดื่ม การให้นม และการจูบกัน (ถ้าปากไม่มีแผล)
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี
- ระยะเฉียบพลัน
- ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 1-4 เดือนหลังติดเชื้อ ดังนี้
- อาการไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา
- อาการอื่นๆ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผื่น ปวดข้อ
- ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เกิดจากการที่เซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ในกรณีนี้อาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้
- อาการตับอักเสบระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายสามารถกำจัดและควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ ซึ่งมักใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่ผู้ป่วยส่วนน้อย (5-10%) ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด ทำให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
- ระยะเรื้อรัง
- ระยะเรื้อรังแบ่งผู้ป่วยได้เป็น 2 กลุ่มคือ
- พาหะ คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ผลการตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้นก่อนแต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์ควรตรวจหาไวรัสตับอักเสบบีก่อน
- ตับอักเสบเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ
- ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอาการ บางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือเบื่ออาหารได้
- การติดเชื้อแบบเรื้อรังพบบ่อยในเด็กที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิด
ติดเชื้อ หรือไม่ ?
ในประเทศไทย แม้จะเริ่มมีการให้วัคซีนป้องกันตั้งแต่เด็ก แต่ก็ยังคง มีประชากรไทยถึง 9 ล้านคนที่เป็นพาหะของโรคและสามารถแพร่เชื้อ ต่อไปได้เรื่อย ๆ ปัญหาที่สำคัญของโรคไวรัสตับอักเสบบี คือในช่วงแรก คนไข้จะไม่มีอาการแสดงเลย แต่จะมีการดำเนินของโรคไปอย่างต่อเนื่อง ทําให้ผู้ป่วยไม่ได้ดูแลตนเอง หรือรับการรักษาจากแพทย์อย่างถูกต้อง ตั้งแต่ต้น และด้วยความที่ไม่รู้นี่เองที่ทำใหมีการแพร่เชื้อไปเรื่อย ๆ
เชื้อไวรัสตับอักเสบบีนั้นติดต่อกันได้ผ่านทางช่องทางสำคัญ 3 ทาง ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน การรับเลือดหรือ สารคัดหลั่งของร่างกายจากผู้เป็นพาหะ เช่นการใช้ของปะปนกัน เช่น แปรงสีฟัน เข็มฉีดยา มีดโกน และถ่ายทอดจากมารดาสู่บุตร กรณีนี้ มีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อได้ในระหว่างคลอด ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือ กับเชื้อไวรัสตับอักเสบคือการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ทุกประการและเข้ารับการตรวจร่างกายจาก แพทย์อย่างสม่ำเสมอ
คุณไม่มีทางทราบ ด้เลยว่า ใครบ้างที่เป็นโรคและใครบ้างที่เป็นพาหะ หนทางที่ปลอดภัยที่สุดคือต้อง ระวังตัวเองไว้ เวลาทานข้าวร่วมกับคนอื่นต้องใช้ช้อนกลางและไม่ใช้ ของมีคมหรือแปรงสีฟันร่วมกับใคร ที่สำคัญควรมีการตรวจเลือดด้วย วิธีนี้เป็นวิธีการเดียวที่จะทราบได้ว่าใครมีเชื้อไวรัสอยู่บ้างซึ่งส่วนมากผู้ป่วย จะทราบว่าตัวเองมีเชื้อก็ตอนที่มาตรวจสุขภาพประจำปีหรือไม่ก็ตอนที่มี อาการดีซ่าน (ตัวเหลือง ตาเหลือง มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร) แล้วนั่นเองค่ะ
ติดเชื้อแล้ว ต้องทำอย่างไร
ในการตรวจ แพทย์จะเน้นการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสเป็นสำคัญ ในกรณีที่พบว่ามีเชื้อ แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูภูมิต้านทานของ ผู้ป่วย ตรวจดูสารมะเร็ง ดูการทำงานของตับ ประกอบกับการตรวจ อัลตราซาวนด์เพื่อดูรูปร่าง และพื้นผิวของตับว่าได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใด
ถ้าเป็นแบบเฉียบพลัน สิ่งที่ผู้ป่วยต้องทำคือ พักผ่อนให้มาก ดูแล สุขภาพให้ดี ไม่นานก็หายเป็นปกติ ส่วนผู้ที่ป่วยเป็นแบบเรื้อรัง หมอก็จะ ตรวจละเอียดมากขึ้นเพื่อให้ทราบถึงการดำเนินของโรค และรายละเอียด ของการรับเชื้อ ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้หมอสามารถวางแผนการรักษาอย่าง เหมาะสมต่อไป” ในขั้นการรักษา คุณหมอวีระศักดิ์อธิบายว่ามีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย บางรายที่มีเชื้อแต่ไม่ปรากฏอาการ ตับไม่ได้รับ ความเสียหาย กรณีนี้ แพทย์ไม่จำเป็นต้องให้ยา เพียงแต่คอยติดตาม การทำงานของตับทุกปี
ในรายที่มีอาการตับอักเสบเรื้อรัง อาจต้องมีการใช้ยาช่วยซึ่งให้ผลดี ในการรักษา ผู้ป่วยสามารถหายตับอักเสบเป็นปกติได้ภายในเวลาไม่นาน แม้ไวรัสจะไม่หายขาด แต่ต้องมีการติดตามดูแล ตรวจเช็คสุขภาพของตับ อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันตับแข็งและมะเร็งตับที่อาจเกิดขึ้นต่อไป สำหรับ ผู้ที่เป็นพาหะ คุณหมอมีคำแนะนำว่าอย่าเครียด ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี พยายามใช้ชีวิตให้เป็นปกติสุขมากที่สุดและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทุกชนิด
ปัจจุบันการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีมีประสิทธิภาพมาก และช่วย ป้องกันไม่ให้โรคลุกลามรุนแรงต่อไปได้ ซึ่งคุณหมอฝากคำแนะนำในการ ดูแลตัวเองไว้ว่า อย่ารับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานโดยขาดความรู้ที่ถูกต้อง มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย งดดื่มเหล้า ตรวจสุขภาพ ร่างกายเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตรวจเช็คตับให้ได้ปีละครั้ง เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างเสริมภูมิต้านทานโรค ทั้งหมดนี้ก็เพียงพอที่จะ ทำให้คุณมีสุขภาพดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้แล้ว
ในการตรวจ แพทย์จะเน้นการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสเป็นสำคัญ ในกรณีที่พบว่ามีเชื้อ แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูภูมิต้านทานของ ผู้ป่วย ตรวจดูสารมะเร็ง ดูการทำงานของตับ ประกอบกับการตรวจ อัลตราซาวนด์เพื่อดูรูปร่าง และพื้นผิวของตับว่าได้รับความเสียหายมาก น้อยเพียงใด
ถ้าเป็นแบบเฉียบพลัน สิ่งที่ผู้ป่วยต้องทำคือ พักผ่อนให้มาก ดูแล สุขภาพให้ดี ไม่นานก็หายเป็นปกติ ส่วนผู้ที่ป่วยเป็นแบบเรื้อรัง หมอก็จะ ตรวจละเอียดมากขึ้นเพื่อให้ทราบถึงการดำเนินของโรค และรายละเอียด ของการรับเชื้อ ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้หมอสามารถวางแผนการรักษาอย่าง เหมาะสมต่อไป
การรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
- HBsAg ให้ผลบวกเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
- มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าไวรัสกำลังมีการแบ่งตัวอย่างมาก คือ
- HBeAg เป็นบวก ปริมาณไวรัสมากกว่าหรือเท่ากับ 20,000 IU/ml
- HBeAg เป็นลบ ปริมาณไวรัสมากกว่าหรือเท่ากับ 2,000 IU/ml
- ระดับ ALT มากกว่าหรือเท่ากับ 1.5 เท่าของค่าปกติอย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน (ยกเว้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีหลักฐานว่ามีตับแข็งหรือภาวะตับวาย พิจารณาให้การรักษาถึงแม้จะมี ALT ปกติ ไม่จำเป็นต้องรอห่างกันเกิน 3 เดือน)
- ต้องไม่มีโรคอื่นที่เป็นสาเหตุหลักของตับอักเสบ
- ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแล้ว หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
- ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย
การปฏิบัติตัวเมื่อติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
- ไม่ต้องกังวล หากเป็นตับอักเสบเฉียบพลันชนิดบี เพราะส่วนใหญ่จะหายได้เองและมีภูมิคุ้มกันตามมา
- รับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
- รับการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพราะการตรวจเลือดจะทำให้ทราบว่าตับมีการอักเสบมากหรือน้อย
- บอกให้คนใกล้ชิดทราบ เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี หากคนใกล้ชิดนั้นไม่มีภูมิและเชื้อ
- มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยางอนามัย
- งดบริจาคเลือด
- ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- พักผ่อนให้เพียงพอทั้งร่างกายและจิตใจ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- รับประทานทั้งข้าว เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ในปริมาณที่พอเหมาะทุกวัน
- รับประทานอาหารสุกและสะอาด ลดการรับประทานอาหารไขมันสูง เนื้อสัตว์รมควัน และเนื้อสัตว์ที่ไหม้จนเกรียม หรืออาหารที่เก็บถนอมไว้นานๆ ไม่รับประทานอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารที่มีเชื้อราขึ้น เช่น ถั่วลิสงป่นที่เก็บไว้นานๆ อาหารที่ใส่ดินประสิว อาหารหมักดอง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม แหนม ปลาร้า ผักดอง ไส้กรอก เบคอน แฮม ฯลฯ และเครื่องกระป๋องต่างๆ ทั้งนี้อาหารประเภทแหนม ปลาร้า เมื่อจะรับประทานต้องทำให้สุกเสียก่อน เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจส่งเสริมทำให้ตับทำหน้าที่บกพร่องมากขึ้น
- ควรตรวจร่างกายและตรวจเลือดหาระดับสารบ่งบอกมะเร็งตับ AFP (alpha-fetoprotein) และทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องสม่ำเสมอทุกปีในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีภาวะตับแข็ง เพศชายอายุมากกว่า 45 ปี เพศหญิงอายุมากกว่า 50 ปี และมีประวัติมะเร็งตับในครอบครัว เพื่อหามะเร็งตับในระยะเริ่มแรก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- เมื่อต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟันควรแจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบ
- หญิงตั้งครรภ์และคลอดบุตร ควรฉีดวัคซีนให้บุตรภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
- ลดความเครียดและความกังวลให้น้อยลง
[leap_gap height=”10px” ]
เรียกได้ว่า ไวรัสตับอักเสบบี ถือเป็นอีกโรคที่มีอันตรายและร้ายแรงกว่าที่คิดค่ะ ดังนั้นเราจึงควรหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ ดูแลร่ายกายตนเองให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหมั่นออกกำลังอย่างเป็นประจำค่ะ กลับมาติดตามบทความสุขภาพดีๆแบบนี้ได้ที่นี่ทุกวันกับ “ข้าวหงษ์ทองไลฟ์ ข้าวอร่อยเพื่อสุขภาพ”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.bumrungrad.com
[leap_gap height=”20px” ]
อย่าลืมกดไลค์แฟนเพจกันด้วยนะคะ www.facebook.com/ข้าวหงษ์ทองไลฟ์ ข้าวอร่อยเพื่อสุขภาพ
เว็บไซต์หลักของเรา ข้าวหงษ์ทองไลฟ์ ข้าวอร่อยเพื่อสุขภาพ
[leap_gap height=”20px” ]