Contact Us Contact Us

โรคแพนิค: ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับตัวคุณ แค่กังวลหรือเป็นโรค

ความรู้สึกวิตกกังวล เครียดไปทุกอย่าง อยากอยู่คนเดียว ความรู้สึกเหมือนอยากตาย อาการเหล่านี้เป็นโรค หรือแค่อาการปกติของคนทั่วไปกันแน่ มาทำความรู้จักกันค่ะ

โรคแพนิคไม่ใช่โรคร้ายแรงอะไร เป็นความผิดปกติในกลุ่มของโรควิตกกังวล ซึ่งสามารถแสดงออกได้หลายอย่าง แต่อาการที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงจนรบกวนกับชีวิตประจำวันในด้านต่างๆ ทำให้คนรอบข้างเกิดความเครียด ซึ่งผู้ป่วยโรคแพนิคจะมีอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรง (panic attacks) ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ โดยที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้


โรคนี้มักเกิดขึ้นในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อาการตกใจกลัวตื่นเต้น วิตกกังวลอย่างรุนแรงหรือที่เรียกว่า อาการแพนิค มักจะมีอาการที่พบอยู่ 2 ช่วง คือ

1.อาการที่เกิดขึ้นแบบจู่โจม (แพนิค)
มักเกิดขึ้นโดยที่ไม่สามารถคาดเดาเวลาได้ จะมีอาการเกิดขึ้นเป็นพักๆ ประมาณ 3-10 นาที แต่ไม่นานเกิน 30 นาที อาการที่เกิดขึ้น เช่น หัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทัน ขาสั่น มือสั่น มือเย็น วิงเวียนศีรษะ ท้องปั่นปวน พร้อมกับมีความรู้สึกกลัวร่วมด้วย เมื่อเป็นบ่อยครั้งผู้ป่วยจะมีอาการกลัวที่จะเกิดขึ้นซ้ำอีก จึงพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดโรคแพนิค

2. อาการแพนิคสงบ
เมื่ออาการสงบลงผู้ป่วยยังคงมีความกังวลเพราะกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์แพนิคจู่โจมขึ้นมาอีก กลัวความรู้สึกที่เหมือนตัวเองกำลังจะตาย กลัวตัวเองจะเป็นบ้าแล้วแสดงอาการที่น่าอายออกมา

ต้นเหตุอาการที่ต้องค้นหา….
โรคแพนิคเวลาที่ผู้ป่วยเป็นมักจะรีบไปโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุทันที ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อทำการตรวจรักษากลับพบว่าร่างกายปกติ คุณหมออาจบอกว่าเป็นแค่เพียงโรคเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานหนักเกินไป เท่านั้น แต่กลับลืมหาสาเหตุของโรคที่เกิดขึ้นกับตัวเองจริงๆ เช่น บางรายเกิดอาการขณะขับรถจึงไม่อยากขับรถอีก บางรายมีอาการเกิดขึ้นกลางสะพานลอย จึงไม่กล้าที่จะทำสิ่งเหล่านั้นอีก และในบางรายเกิดจากการออกกำลังกายหนักหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจำพวก กาแฟ ชา น้ำอัดลม แล้วเกิดอาการขึ้น สิ่งนี้แหละเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยต้องสังเกตอาการของตัวเองว่า เมื่อมีอาการแพนิค ก่อนหน้านั้นคุณทำกิจกรรมหรือรับประทานอะไรอยู่

ในปัจจุบันผู้ป่วยโรคนี้พอจะทราบสาเหตุแล้วว่า อาจเกิดจากปัญหาการทำงานของสมองส่วนที่ทำให้เกิดอาการ ตื่นตระหนก เป็นความผิดปกติของสารสื่อนำประสาทบางอย่าง สามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยยา ซึ่งยาที่ใช้รักษาโรคแพนิคแบ่งได้ 2 กลุ่ม
1. ยาป้องกัน เป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้า
จะช่วยบรรเทาอาการเวลาเป็นโรคแพนิค เมื่อยาออกฤทธิ์เต็มที่ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการอีก แถมยังเป็นยาที่ช่วยรักษาโรคซึมเศร้าด้วย ยากลุ่มนี้สามารถหยุดได้เมื่ออาการดีขึ้นหรือหายเป็นปกติ เช่น เล็กซาโปร (Lexapro) โปรแซก (Prozac) โซลอฟ (Zoloft) เป็นต้น

2.ยาแก้ เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว

รับประทานทันทีเมื่อเกิดอาการ เป็นลักษณะของยากล่อมประสาทหรือยาคลายกังวล เช่น  แวเลี่ยม (Valium) แซแนก (Xanax) อะติแวน (Ativan) ยากลุ่มนี้เมื่อรับประทานนานๆ จะเกิดการติดยา หากขาดยาอาการแพนิคอาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานเมื่อมีอาการเท่านั้น *การรับประทานยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

[leap_gap height=”20px” ]

อย่าลืมกดไลค์แฟนเพจกันด้วยนะคะ www.facebook.com/ข้าวหงษ์ทองไลฟ์ ข้าวอร่อยเพื่อสุขภาพ
เว็บไซต์หลักของเรา ข้าวหงษ์ทองไลฟ์ ข้าวอร่อยเพื่อสุขภาพ

[leap_gap height=”20px” ]