อาหารเพื่อสุขภาพ : กระท้อนลูกใหญ่ๆ เนื้อในนุ่มเป็นปุย แปลงรูป แปลงรสชาติ ความอร่อยให้กับกระท้อนสักหน่อย จะได้รสชาติครบเครื่อง ครบรสค่ะ
กระท้อน มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ในประเทศไทย ภาคอีสานเรียกกระท้อนว่า มะต้อง หรือหมากต้อง ภาคเหนือเรียก มะต้อง หรือมะติ๋น ส่วนภาษาใต้เรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า เตียน ล่อน สะท้อน สตียา สะตู สะโต เป็นไม้ยืนต้น ผลอ่อนสีเขียว เมื่อผลแก่เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีน้ำยาง รูปกลมแป้น ผิวมีขนแบบกำมะหยี่อ่อนนุ่ม เป็นผลไม้ตามฤดูกาล ให้ผลผลิตช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน ปลูกได้ทุกภาคทั่วประเทศกระท้อนเป็นผลไม้ที่สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้หลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นใบสด เปลือก ราก แต่ส่วนใหญ่แล้วมักนิยมนำผลมารับประทาน
เป็นทั้งอาหารคาวหวาน เนื่องจากมีรสชาติที่อร่อยและรสสัมผัสที่นุ่มละมุน เมื่อเก็บมาจากต้นควรตั้งทิ้งไว้ 2-3 วัน อย่างที่คนโบราณ เรียกว่า “ทิ้งไว้ให้ลืมต้น” การทานกระท้อนให้อร่อย ต้องทุบเบาๆ พอให้น่วม กระท้อนจะมีรสหวาน แต่เมนูนี้ ไม่ต้องทุบก็ หวาน เปรี้ยว ซี๊ด จี๊ด จัดจ้าน มาดูวิธีทำกันเลยค่ะ
เคล็ดลับในการเลือก กระท้อน
ต้องมีสีเหลืองนวล – เข้ม รูปกลมแป้น ผิวมีขนแบบกำมะหยี่อ่อนนุ่ม ก้นลูกกระท้อนจะต้องไม่มีสีเขียว ขั้วต้องไม่เหี่ยว หรือหลุด เนื่องจากเป็นกระท้อนเก่าที่เก็บมาแล้วหลายวัน ก้นลูกกระท้อนจะต้องไม่แตก กระท้อนที่ก้นแตกมักจะมีรสจืด
กระท้อนมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์
1.กระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย มีรสหวาน มีเปลือกที่นิ่ม และเม็ดกระท้อนมีปุยเหมือนปุยฝ้าย
2.กระท้อนพันธุ์อีล่า มีรสอมเปรี้ยว และผลกระท้อนจะมีขนาดใหญ่มากบางผลน้ำหนักถึง 0.9 กิโลกรัม
3.กระท้อนพันธุ์ทับทิม มีรสหวาน เนื่องจากมีชาวสวนปลูกน้อย จึงไม่มีคนรู้จักมากนัก
4.กระท้อนพันธุ์นิ่มนวล เปลือกบาง เนื้อหนานิ่ม ไม่กระด้าง ปุยหุ้มเมล็ดหนาฟู รสหวานจัดเป็นสายพันธุ์ที่นิยมบริโภค
*ขอชิมเป็นวิธีที่ดีที่สุด กระท้อนสวนเดียวกันไม่แน่ว่าจะมีรสเหมือนกัน
วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
[leap_ul]
[leap_li icon=”hand-o-right” iconcolor=”#000000″] กระท้อน (เปรี้ยวหรือหวานแล้วแต่ชอบ) [/leap_li]
[leap_li icon=”hand-o-right” iconcolor=”#000000″] น้ำตาลปิ๊บ 5 ชต. [/leap_li]
[leap_li icon=”hand-o-right” iconcolor=”#000000″] น้ำปลา 1 ชต. [/leap_li]
[leap_li icon=”hand-o-right” iconcolor=”#000000″] กะปิ 1/2 ชช. [/leap_li]
[leap_li icon=”hand-o-right” iconcolor=”#000000″] พริกป่น พริกขี้หนู ถั่วลิสงป่น กุ้งแห้ง หอมแดง [/leap_li]
[/leap_ul]
วิธีทำ กระท้อน
- นำน้ำเปล่าใส่ภาชนะก้นลึกพอให้แช่กระท้อนได้ท่วม
- นำเกลือใส่ลงไปในน้ำ
- ปอกเปลือกกระท้อน
- บั้งกระท้อน (ถ้าขี้เกียจก็บั้งหนาๆ ถ้ามีเวลาหน่อยก็บั้งถี่ๆ อันนี้แล้วแต่คนชอบด้วยนะคะ)
- นำกระท้อนที่บั้งแล้ว ลงไปแช่ในน้ำเกลือที่เตรียมไว้เพื่อลดความดำ และลดความฝาดของกระท้อนค่ะ
วิธีทำน้ำราด
- นำน้ำเปล่าใส่ลงในหม้อ
- ใส่น้ำปลา 1 ชต. (ถ้าชอบเค็มมาก ก็ใส่มากค่ะ)
- ใส่น้ำตาลปี๊บ 5 ชต.ลงไป
- ใส่กะปิ ½ ชช.นิดหน่อย (ถ้าไม่ชอบไม่ต้องใส่ก็ได้)
- คนให้น้ำตาลละลาย เคี่ยวต่อไปจนเดือด เราคนดูอาจจะเห็นว่ามันยังไม่เหนียว ยกลง ทิ้งไว้ให้มันเย็นตัวลงมันจะเหนียวเองค่ะ แต่ถ้าเย็นตัวแล้วยังไม่เหนียวอีก ให้เรามาตั้งไฟต่อจนเดือดอีกครั้ง (บางทีน้ำอาจจะมากกว่าปริมาณของน้ำตาลทำให้ไม่เหนียวก็เป็นได้ค่ะ)
เครื่องใส่น้ำราด
- หอมแดง
- กุ้งแห้ง (ถ้าชอบนิ่มให้แช่น้ำทิ้งไว้ก่อนสักพัก เสร็จแล้วนำมาตำ หรือถ้าชอบเป็นตัวก็ใส่เป็นตัวเลยค่ะ ไม่ต้องตำ)
- ถั่วลิสง (จะซื้อแบบคั่วสำเร็จ หรือจะซื้อมาคั่วเองก็ได้เพราะมันจะหอม)
- กุ้งแดง
- มะพร้าวคั่ว (ถ้าไม่มีก็ไม่ใส่ก็ได้นะคะ)
- พริกป่น (สำหรับคนที่ชอบรสเผ็ดค่ะ)
วิธีทำ เครื่องใส่น้ำราด
- นำหอมแดงมาปอกเปลือก แล้วซอยบางๆ
- นำกุ้งแห้งมาแช่น้ำทิ้งไว้สักพัก เสร็จแล้วนำมาตำ (ถ้าชอบนิ่มให้แช่น้ำ ถ้าชอบเป็นตัวก็ใส่เป็นตัวเลยค่ะ ไม่ต้องตำ)
- นำถั่วลิงสงมาคั่วในกระทะ ตั้งไฟอ่อนๆ คั่วจนมันออกสีเหลือง ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วเอามือไปขยี้ให้เปลือกมันแยกออกจากเม็ดถั่ว นำไปฝัดเปลือกออก แล้วนำมาตำพอบุบ ๆ (ถ้าชอบเป็นเม็ดก็ใส่เป็นเม็ดเลยค่ะ)
- นำหอมแดง กุ้งแห้ง ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแดง มะพร้าวคั่ว พริกป่น ใส่ลงในน้ำราดที่เราเตรียมไว้แล้ว คนให้เข้ากัน ก็เป็นอันเสร็จวิธีค่ะ (ขั้นตอนนี้ถ้าอยากจัดจานให้สวยหน่อยก็ไม่ต้องผสมให้เข้ากันก็ได้นะค่ะ อาจจะแยกเครื่องกับน้ำราดออกจากกัน โดยเอาเครื่องที่เตรียมไว้ไปวางบนลูกกระท้อน แล้วค่อยราดน้ำตามทีหลังก็ได้เหมือนกันค่ะ )
เคล็ดลับในการปรุง
ถ้าท่านคนบ่อยๆ น้ำตาลจะเป็นเม็ดทราย แล้วถ้ามันเป็นเม็ดทรายจะทำอย่างไร มะนาวค่ะ..ที่เตรียมไว้ ฝานแล้วบีบลงไปสักครึ่งลูก น้ำตาลก็จะคืนตัวดังเดิม
ประโยชน์และสรรพคุณ
สมุนไพร กระท้อนมีสรรพคุณทางยาหลายประการ ใบสด ใช้ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้ เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ราก เป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ
หลายส่วนของกระท้อนมีฤทธิ์แก้อักเสบ และสารสกัดจากกิ่งกระท้อนบางชนิดมีผลยับยั้งมะเร็งในหลอดทดลอง สารสกัดจากเมล็ดกระท้อนมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง
ข้อควรระวัง
1.ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเมล็ดกระท้อนระวังอาจจะไหลติดคอจนทำให้หายใจไม่ออกได้
2.ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรหลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นอันตรายต่อร่างกาย เนื่องจากมีคาร์โบไฮเดรตสูง และอุดมไปด้วยน้ำตาล
3.ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้มีภาวะธาตุโพแทสเซียมสูง
[leap_gap height=”10px” ]
อย่าลืมกดไลค์แฟนเพจกันด้วยนะคะ www.facebook.com/ข้าวหงษ์ทองไลฟ์ ข้าวอร่อยเพื่อสุขภาพ
เว็บไซต์หลักของเรา ข้าวหงษ์ทองไลฟ์ ข้าวอร่อยเพื่อสุขภาพ
[leap_gap height=”20px” ]